Startup ต้องหา Segment ให้เจอ และ Differentiate ให้ได้

13 December 2017 | Posted By : Event & Organize

 

1.  Niche Market

สำหรับ Startup การทำตลาดในวงกว้างตั้งแต่แรก ไม่ใช่ไอเดียที่ดี Startupได้ Feedback จากคนจำนวนมากเกินไป สมมติคุณเป็น Startup ที่ให้บริการสปากระเป๋าแบรนด์เนม โดยผู้ใช้สามารถเลือกจุดส่งของจุดรับของได้เองด้วย ในช่วงแรก อยากให้คนมาใช้เยอะๆ โดยการมอบส่วนลด 80% และโปรโมต ทาง Feedback ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากเข้ามาทดลอง แต่พวกเขาไม่ใช่กลุ่มลูกค้าที่ต้องการ พวกเขาเข้ามาเพราะราคาเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นทางที่ดีกว่า คือ เอา voucher ไปให้ร้านขายกระเป๋าแบรนด์เนม  จำนวน 10 ร้านร้านละ 5 ใบ และบอกเจ้าของร้านว่า ให้มอบ voucher นี้กับลูกค้าที่มี  Engagement กับทางร้านมากที่สุดก็ได้

.

2.  Risk Management

การเติบโตที่รวดเร็วย่อมมีความเสี่ยงเป็นธรรมดา การบริหารความเสี่ยงของStartup จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีง่ายๆ ก็คือสร้างระบบการันตีคุณภาพให้ ธุรกิจ เช่น ระบบคืนเงิน หรือระบบรับประกันสินค้า เป็นต้น เมื่อเวลาเกิดวิกฤติ Startup จะได้แก้ได้ทัน

.

3.  Regulate Demand &Supply

สำหรับ Startup ที่มี Platform ทั้งฝั่ง Demand และ ฝั่ง Supply  เช่น Ecommerce คุณต้องรักษา  คุณต้องรักษา Balance ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้ดีเพราะหากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมากไป ก็ส่งผลไม่ดีทั้งนั้นแต่สำหรับ Ecommerce มักจะเป็นฝั่งผู้ขายที่แห่กันมาจนมากเกินไป

.

4.  Don’t Over Optimize Price

เป็นเรื่องปกติที่  Startup อยากสร้างฐานลูกค้า แต่การลดราคาจนเกินไป อาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะนั่นหมายความว่าต้องขยายธุรกิจต้องจ้างงานเพิ่มเพื่อรองรับการเข้ามาของลูกค้าและนั่นคือความเสี่ยงสำคัญ

.

5.  Close Loop & Avoid Dsintermediation

การปิดลูปในที่นี้ จะช่วยลดการแทรกแซงได้ เช่น ใน Airbnb จะมีแผนที่โชว์ให้เห็นตำแหน่งของ Host แต่จะเป็นรัศมีกว้างๆ เท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ได้ผู้ใช้ ไปหาข้อมูลที่อื่นแล้วดีลห้องพักกันเอง เมื่อผู้ใช้กดจ่ายเงินถึงจะมีสิทธิ์คุยกับ Host ได้บาง Startup มี Platform ที่เปิดกว้างเกินไปเป็นโอกาสให้ผู้ซื้อ ผู้ขายไปเจอกันเอง สุดท้ายไม่ได้อะไรเลย

.

6.  Know Your Critical Mass Point

Ctitical Mass คือ จำนวนผู้ใช้ที่น้อยที่สุด ใน Ecosystems  ของ Startup หรือจำนวนผู้ใช้ที่น้อยที่สุดที่จะทำธุรกิจเติบโตฟังดูยากใช่ไหม ใจเย็นๆเวลาทำธุรกิจ คำถามที่ต้องตอบให้ได้คือจุดคุ้มทุน เช่นจุดคุ้มทุนคือ 5 ปี ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้นปีละ 20% สำหรับ  Startup ก็เช่นกัน คุณควรรู้ว่าในจำนวนคนที่เคยใช้บริการทั้งหมด มีคนกลับมาซื้อซ้ำกี่คน รายได้ต่อลูกค้าคงที่ไหม ต้องการฐานลูกค้าเท่าไหร่ถึงจะจ่ายเงินเดือนพนักงานค่าดำเนินการและสร้างการเติบโตให้ Startup ได้สรุปง่ายๆ ก็คือ Critical Mass Point  คือจุด ที่ Startup มีฐานลูกค้า ผู้ใช้ กลุ่มผู้ติดตาม ถึงจุดที่ระบบทุกอย่างจะ Run ด้วยตัวเอง

.

7.  Distribution & Marketing

เมื่อธุรกิจของคุณไปได้สวย ลองกลับมาดูว่าช่องทางการจัดจำหน่ายและการตลาดของคุณ พึ่งพาอยู่บน Platform อะไรบางอย่างหรือเปล่า อย่างเช่น มีช่องทางขายผ่านทาง โซเซียลมีเดียเพียงอย่างเดียว หรือ ลูกค้าทั้งหมดมาจากการแนะนำของAngel investors อย่างเดียว .

 

 

.

 

BIG CREATIVE  ผู้จัดงานอีเว้นท์อย่างครบวงจรของประเทศไทยตั้งแต่กระบวนการวิเคราะห์-วางแผนทางการตลาด

เชื่อมโยงผ่านช่องทางการตลาดทั้งหมดเข้าด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ผู้บริโภคทุกช่องทางทั้งในรูปแบบ

Offline Marketing และ Online Marketing . ติดตามผ่านช่องทาง website - www.bigcreativethailand.com

facebook - www.facebook.com/bigcreativethailand email - bigcreativethailand@gmail.com

 

 

 

แหล่งที่มา : MAKETEER  MAGAZINE

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



Copyright © 2017 BIG CREATIVE Powered by BIG CREATIVE THAILAND.com